วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557

                                                


              ประวัติของกล้วย







ประวัติของกล้วย
         
      กล้วยเป็นไม้ผลที่คนไทยรู้จักกันมานาน เนื่องจากกล้วยมีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคดังกล่าว จากการศึกษาพบว่า กล้วยมีวิวัฒนาการถึง ๕๐ ล้านปีมาแล้ว ดังนั้นจึงเป็นไม้ผลที่มนุษย์รู้จักบริโภคเป็นอาหารกันอย่างแพร่หลาย เชื่อกันว่ากล้วยเป็นไม้ผลชนิดแรกที่มีการปลูกเลี้ยงไว้ตามบ้าน และได้แพร่พันธุ์จากเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปยังดินแดนอื่นๆ ในระยะเวลาต่อมา
          กล้วยมีการปลูกกันมากในเอเชียใต้ แม้ในปัจจุบัน ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่มีการปลูกกล้วยมากที่สุดในโลก และมีพันธุ์กล้วยมากมายอีกด้วย เหมาะสมกับที่มีการกล่าวกันไว้ในหนังสือของชาวอาหรับว่า “กล้วยเป็นผลไม้ของชาวอินเดีย” ต่อมาได้มีหมอของจักรพรรดิโรมันแห่งกรุงโรมชื่อว่า แอนโตนิอุส มูซา (Antonius Musa) ได้นำหน่อกล้วยจากอินเดียไปปลูกทางตอนเหนือของอียิปต์ เมื่อประมาณ ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว หลังจากนั้นมีการแพร่ขยายพันธุ์กล้วยไปในดินแดนของแอฟริกาที่ชาวอาหรับเข้าไปค้าขายและพำนักอาศัย จนกระทั่งเมื่อประมาณ ค.ศ. ๙๖๕ ได้มีการกล่าวถึงกล้วยว่า ใช้ในการประกอบอาหารชนิดหนึ่งของชาวอาหรับ ซึ่งอร่อยและเป็นที่เลื่องลือมาก ชื่อว่า กาลาอิฟ  (Kalaif) เป็นอาหารที่ปรุงด้วยกล้วย เมล็ดอัลมอนด์ น้ำผึ้ง ผสมกับน้ำมันนัต (Nut oil) ซึ่งสกัดจากผลไม้เปลือกแข็งชนิดหนึ่ง นอกจากใช้ประกอบอาหารแล้ว ชาวอาหรับยังใช้กล้วยทำยาอีกด้วย  ชาวอาหรับเรียกกล้วยว่า “มูซา” ตามชื่อของหมอที่เป็นผู้นำกล้วยเข้ามาในอียิปต์เป็นครั้งแรก
          ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ ชาวโปรตุเกสได้เดินเรือไปค้าขายบริเวณชายฝั่งตะวันตกของทวีปแอฟริกา และได้นำกล้วยไปแพร่พันธุ์ที่หมู่เกาะคะแนรี  ซึ่งตั้งอยู่นอก ชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทวีป หลังจากนั้น ชาวสเปนจึงได้นำกล้วยจากหมู่เกาะ คะแนรีเข้าไปปลูกในหมู่เกาะอินดีสตะวันตก  นอเมริกากลาง โดยเริ่มปลูกที่อาณานิคมซันโตโดมิงโก  บนเกาะฮิสปันโยลา เป็นแห่งแรก แล้วขยายไปปลูกที่เกาะอื่นในเวลาต่อมา ส่งผลให้ดินแดนในอเมริกากลางมีการปลูกกล้วยเป็นพืชเศรษฐกิจกันอย่างแพร่หลาย และนับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมา ได้กลายเป็นแหล่งปลูกกล้วยส่งเป็นสินค้าออกมากที่สุดของโลก โดยปลูกมากในประเทศคอสตาริกา และประเทศฮอนดูรัสลักษณะทางพฤกษศาสตร์           กล้วยมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่สำคัญๆ ดังนี้
              - ลำต้น กล้วยมีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า หัว หรือเหง้า (rhizome) ที่หัวมีตา (bud)  ซึ่งจะเจริญเป็นต้นเกิดหน่อ (sucker) หลายหน่อ เรียกว่า การแตกกอ หน่อที่เกิด หรือต้นที่เห็นอยู่เหนือดิน ความจริงแล้วมิใช่ลำต้น เราเรียกว่า ลำต้นเทียม (pseudostem) ส่วนนี้เกิดจากการอัดกันแน่นของกาบใบที่เกิดจากจุดเจริญของลำต้นใต้ดิน กาบใบจะชูก้านใบ และใบ และที่จุดเจริญนี้จะมีการเจริญเป็นดอกตามขึ้นมาหลังจากสิ้นสุดการเจริญของใบ ใบสุดท้ายก่อนการเกิดดอก เรียกว่า ใบธง              - ดอก ดอกของกล้วยออกเป็นช่อ (inflorescence) ในช่อดอกยังมีกลุ่มของช่อ ดอกย่อยเป็นกลุ่มๆ ระหว่างกลุ่มของช่อดอกย่อยแต่ละช่อจะมีกลีบประดับ หรือที่เราเรียกกันว่า กาบปลี (bract)  มีสีม่วงแดงกั้นไว้ กลุ่มดอกเพศเมียอยู่ที่โคน และกลุ่มดอกเพศผู้อยู่ที่ปลาย เป็นส่วนที่เราเรียกว่า หัวปลี  (male bud)  ระหว่างกลุ่มดอกเพศเมียและดอกเพศผู้มีดอกกะเทย แต่บางพันธุ์ก็ไม่มี ในช่อดอกย่อยแต่ละช่อมีดอกเรียงซ้อนกันอยู่  ๒ แถว ถ้าเป็นดอกเพศเมีย ดอกเหล่านี้จะ เจริญต่อไปเป็นผล
              - ผล  ผลกล้วยเกิดจากดอกเพศเมีย ซึ่งอยู่ที่โคน กลุ่มของดอกเพศเมีย ๑ กลุ่ม เจริญเป็นผล เรียกว่า ๑ หวี ช่อดอกเจริญเป็น ๑  เครือ ดังนั้นกล้วย ๑ เครืออาจมี ๒ - ๓  หวี  หรือมากกว่า ๑๐ หวี ทั้งนี้แล้วแต่พันธุ์กล้วยและการดูแล    ผลของกล้วยมีการเจริญได้โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ จึงทำให้กล้วยส่วนใหญ่ไม่มีเมล็ด
              -  เมล็ด  เมล็ดกล้วยมีลักษณะกลมเล็ก  บางพันธุ์มีขนาดใหญ่ เปลือกหนา แข็ง มีสีดำ
              - ราก เป็นระบบรากฝอย แผ่ไปทางด้านกว้างมากกว่าทางแนวดิ่งลึก
              - ใบ ใบกล้วยมีลักษณะเป็นแผ่นใบใหญ่ มีความกว้างประมาณ ๗๐ - ๙๐ เซนติเมตร ความยาว ๑.๗ - ๒.๕ เมตร  ปลายใบมน  รูปใบขอบขนาน โคนใบมน และแผ่นใบมีสีเขีย



วิธีการปลูกกล้วย





การปลูกและการดูแลกล้วย

กล้วยเป็นพืชที่ชอบอากาศร้อนชื้น ซึ่งเหมาะกับการปลูกในประเทศไทย ถ้าหากอุณหภูมิต่ำกว่า ๑๔ องศาเซลเซียส กล้วยจะชะงักการเจริญเติบโต หรือมีการเติบโตช้าลง รวมทั้งการออกดอกและติดผลจะช้าด้วย อนึ่ง กล้วยเป็นพืชที่มีแผ่นใบใหญ่ ดังนั้นจึงไม่ค่อยทนต่อแรงลม เพราะใบจะต้านลม ทำให้ใบแตกได้ ถ้าหากใบแตกมากจนเป็น ฝอย จะทำให้มีการสังเคราะห์อาหารได้น้อย ต้นไม่เจริญเท่าที่ควร ดังนั้นถ้าพื้นที่ที่มีลมแรงมาก ควรปลูกต้นไม้อื่นทำเป็นแนวกันลมให้ต้นกล้วย

ดินที่เหมาะสำหรับการปลูกกล้วยคือ ดินตะกอนธารน้ำที่ชาวบ้านเรียกว่า "ดินน้ำไหลทรายมูล" ซึ่งเป็นดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีการระบายน้ำ และการหมุนเวียนอากาศดี ถ้าดินเป็นดินเหนียว ควรใส่ปุ๋ยคอก จะทำให้ดินร่วนโปร่งขึ้น

ระยะปลูก

กล้วยเป็นพืชที่มีใบยาว หากปลูกในระยะใกล้กันมาก อาจทำให้ใบเกยกัน หรือซ้อนกัน ทำให้ได้รับแสงแดดไม่เพียงพอ และดูแลลำบาก การกำหนดระยะปลูกจึงควรคำนึงถึงเรื่องแสงแดด ความอุดมสมบูรณ์ของดิน และความต้องการของผู้ปลูกว่าต้องการปลูกกล้วยเพื่อเก็บเกี่ยวกี่ครั้ง หากต้องการเก็บเกี่ยวเพียงครั้งเดียวก็อาจปลูกถี่ได้ แต่ถ้าต้องการเก็บเกี่ยวหลายๆ ครั้ง ต้องปลูกให้ห่างกัน เพื่อมีพื้นที่สำหรับการแตกหน่อ

การปลูก
ขุดหลุมให้มีขนาดความ กว้าง ๕๐ เซนติเมตร ลึก ๕๐ เซนติเมตร นำดินที่ขุดได้กองตากไว้ ๕ - ๗ วัน หลังจากนั้นเอาดินชั้นบนที่ตากไว้ลงไปก้นหลุม ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้ว ให้สูงขึ้นมาประมาณ ๒๐ เซนติเมตร  คลุกเคล้าปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักกับดินชั้นบนที่ใส่ลงไป แล้วจึงเอาหน่อกล้วยที่เตรียมไว้ วางที่ตรงกลางหลุม เอาดินล่างกลบ รดน้ำ และกดดินให้แน่น ยอดของหน่อควรสูงกว่าระดับดินประมาณ ๑๐ เซนติเมตร ควรหันรอยแผลของหน่อให้อยู่ในทิศทางเดียวกัน เพราะเมื่อโตเต็มที่และติดผล ผลจะเกิดในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับรอยแผล และอยู่ในทิศทางเดียวกัน เพื่อสะดวกในการทำงาน แต่หากเป็นต้นที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จะไม่มีทิศทางของรอยแผล ในการวางต้นจึงจำเป็นต้องมีทิศทาง

ถ้าหากพื้นที่นั้นเป็นดินเหนียว ควรทำการยกร่อง จะได้ระบายน้ำ และปลูกบนสันร่องทั้ง ๒ ข้าง และเพื่อให้การปฏิบัติงานทำได้ง่าย ควรวางหน่อให้กล้วยออกเครือไปทางกลางร่อง

การกำจัดหน่อ

เมื่อต้นกล้วยมีอายุได้ ๔ - ๖ เดือน จะเริ่มมีการแตกหน่อ หน่อที่เกิดมาเรียกว่า หน่อตาม (follower) กล้วยบางพันธุ์ที่มีหน่อมาก ควรเอาหน่อออกบ้าง เพื่อมิให้หน่อแย่งอาหารจากต้นแม่ ควรเก็บหน่อไว้ ๑ - ๒ หน่อ เพื่อให้เป็นตัวพยุงต้นแม่เมื่อมีลมแรง และเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตในปีต่อไป วิธีการกำจัดหน่ออาจใช้เสียมที่คมหรือมีดแซะลงไป หรือใช้มีดตัดหรือคว้านหน่อที่อยู่เหนือดิน แล้วใช้น้ำมันก๊าด หรือสารกำจัดวัชพืชหยอดที่บริเวณจุดเจริญ เพื่อไม่ให้มีการเจริญเป็นต้น แต่ไม่ควรแซะหน่อในระหว่างการออกดอก เพราะต้นอาจกระทบกระเทือนได้

นอกจากการกำจัดหน่อแล้ว ควรตัดใบที่แห้งออก เพราะถ้าทิ้งไว้อาจเป็นแหล่ง สะสมโรค ใน ๑ ต้น ควรเก็บใบไว้ประมาณ ๗ - ๑๒ ใบ

การให้ปุ๋ย

กล้วยเป็นพืชที่ต้องการธาตุอาหารมาก การติดผลจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับอาหารและน้ำที่ได้รับ ดังนั้นควรบำรุงโดยใส่ปุ๋ย ทั้งปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมี ตั้งแต่เริ่มปลูก ในระยะแรกควรให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนมากในช่วง ๒ เดือนแรก โดยให้ปุ๋ยยูเรียเดือนละครั้ง และเดือนที่ ๓ และ ๔ ให้ปุ๋ยสูตร ๑๕ - ๑๕ - ๑๕ ต้นละ ๑-๒ กิโลกรัม ส่วนในเดือนที่ ๕ และ ๖ ให้ใส่ปุ๋ยสูตร ๑๓ - ๑๓ - ๒๑ ต้นละ ๑-๒ กิโลกรัม

การค้ำยัน

กล้วยบางพันธุ์มีผลดกมาก โดยมีจำนวนหวีมากและผลใหญ่ ต้นที่มีขนาดเล็ก หากไม่ค้ำไว้ ต้นอาจล้ม ทำให้เครือหักได้ เช่น กล้วยหอมทอง กล้วยไข่ จำเป็นต้องค้ำบริเวณโคนเครือกล้วยไว้ โดยใช้ไม้ไผ่หรือไม้อื่นที่มีง่าม

การให้ผล

กล้วยจะออกดอกเมื่ออายุต่างกันตามชนิดของกล้วย เช่น กล้วยไข่ เริ่มออกดอกเมื่ออายุประมาณ ๕ - ๖ เดือน และกล้วยหอมทองจะเริ่มออกดอกเมื่ออายุได้ประมาณ ๖ - ๗ เดือน ส่วนกล้วยน้ำว้า และกล้วยหักมุกใช้เวลานานกว่า และผลจะแก่ ในระยะเวลาที่ต่างกัน ดังแสดงในตารางที่ ๒

การคลุมถุง


ถ้าหากปลูกกล้วยเพื่อการส่งออก ควรทำการคลุมถุง ถุงที่ใช้ควรเป็นถุงพลาสติกสีฟ้าขนาดใหญ่ และยาวกว่าเครือกล้วย เจาะรูเป็นระยะๆ และเปิดปากถุง ทำให้มีอากาศถ่ายเทได้ ถ้าหากไม่เจาะรูและปิดปากถุง อาจทำให้กล้วยเน่าได้


ประเภทของกล้วย


                                               
                                                     กล้วยเล็บมือนาง



  ประเภทของกล้วย

กล้วย ทั่วโลกมีกล้วยอยู่ประมาณ 200-300 ชนิด สำหรับชนิดของกล้วยที่มีในประเทศไทยนั้นได้เก็บรวบรวมพันธุ์ไว้เมื่อปี พ.ศ.2524 ชึ่งแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มดังนี้   
  1. กล้วยป่าออร์นาตา ปลูกกันแถบภาคเหนือ นิยมเรียก กล้วยบัวหรือ บางท้องถิ่นเรียกว่า กล้วยป่า” (ลำปาง)
   
   2. กล้วยป่าอะคิวมินาตา กล้วยในกลุ่มนี้มีแพร่หลายในประเทศไทย แต่ละถิ่นอาจเรียกชื่อต่างกัน เช่น ที่จังหวัดสงขลา เรียก กล้วยทองที่จังหวัดแพร่ จังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดลำปาง เรียก กล้วยแข

    3. กล้วยในสายพันธุ์อะคิวมินาตา คัลทิฟาร์ กล้วยในกลุ่มนี้ มีหลายชนิด ได้แก่กล้วยเล็บมือนาง ปลูกกันมากในภาคใต้ บางท้องถิ่น เช่น จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียก กล้วยหมากจังหวัดพัทลุง เรียก กล้วยทองหมากส่วนจังหวัดนครสวรรค์ เรียก กล้วยเล็บมือกล้วยทองร่วง ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียก กล้วยไข่ทองร่วงที่จังหวัดสงขลา เรียก ค่อมเบากล้วยไข่ ปลูกกันทั่วไป ที่จังหวัดสุรินทร์ เรียก เจ็กบงกล้วยหอม ปลูกในสวนหลังบ้านแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือกล้วยหอมทองสาน ปลูกมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกล้วยสา ปลูกกันมากภาคใต้กล้วยนมสาว ปลูกกันมากภาคใต้กล้วยลาย ปลูกกันมากภาคใต้กล้วยทองกาบดำ ปลูกกันมากภาคใต้เช่นกันกล้วยนาก กล้วยชนิดนี้มีการเรียกต่างกันหลายแห่ง ที่จังหวัดพะเยาและจังหวัดแพร่ เรียก กล้วยน้ำครั่งจังหวัดนครศรีธรรมราชเรียก กล้วยกุ้งส่วนที่จังหวัดสุรินทร์ เรียก กล้วยครั่งกล้วยหอมทอง ที่จังหวัดจันทบุรี เรียก หอมทองนิยมรับประทานสดมากที่สุดกล้วยหอมเขียว ที่จังหวัดแพร่ เรียกกล้วยคร้าว จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียก กล้วยเขียวคอหักหรือกล้วยเขียวส่วนที่จังหวัดพะเยา เรียก กล้วยหอมคร้าวกล้วยกุ้งเขียว เป็นลูกผ่าเหล่าของกล้วยนาก ที่จังหวัดแพร่ เรียก กล้วยหอมทองกล้วยหอมค่อม ที่จังหวัดพัทลุง และจังหวัดอุบลราชธานี เรียก กล้วยเตี้ยจังหวัดนครศรีธรรมราช เรียกกล้วยไข่บอง ที่จังหวัดนครราชสีมา เรียก กล้วยไข่พระตะบองกล้วยดอกไม้ เมื่อสุกผลจะเป็นสีทอง จัดอยู่พวกเดียวกับกล้วยหอมทอง   

 4. กล้วยป่าบาลบิเชียน่า นิยมเรียก กล้วยตานีมีแพร่หลายทั่วประเทศไทย ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียก กล้วยพองลาส่วนที่จังหวัดแพร่และจังหวัดลำปาง เรียก กล้วยป่า”    

 5. กล้วยลูกผสมอะคิวมินาตากับบาลบิเชียน่า กล้วยในกลุ่มนี้ มีหลายชนิด ได้แก่กล้วยลังกา ที่จังหวัดพัทลุง เรียก กล้วยจีนกล้วยเงิน เป็นกล้วยที่หาพันธุ์ยาก มีเฉพาะที่จังหวัดสงขลากล้วยน้ำพัด ที่จังหวัดจันทบุรี เรียก กล้วยน้ำกาบดำกล้วยทองเดช มีการปลูกมากในจังหวัดสงขลากล้วยนางนวล มีการปลูกมากในจังหวัดสงขลากล้วยไข่โบราณ มีเฉพาะที่จังหวัดตราด เป็นกล้วยที่หาพันธุ์ยากเช่นกันกล้วยน้ำ มีหลายถิ่นเรียกต่างกัน ที่จังหวัดนครนายก เรียก กล้วยหอมนางนวลจังหวัดนครศรีธรรมราช เรียก กล้วยแก้วจังหวัดสกลนายกและจังหวัดชัยภูมิ เรียก กล้วยหอมจังหวัดยโสธร เรียก กล้วยหอมเล็กและที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เรียก กล้วยหอมจันทร์กล้วยขม เป็นกล้วยที่มีรสขมเช่นเดียวกับ ชื่อ ปลูกมากที่ภาคใต้กล้วยขมนาก ปลูกมากแภบภาถใต้กล้วยร้อยหวี หรือ กล้วยงวงช้าง ถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศอินโดนีเซีย นิยมเป็นไม้ประดับกล้วยนมหมี ที่จังหวัดอ่างทอง เรียก กล้วยแหกคุกกล้วยปลวกนา มีการปลูกมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดนครนายก เรียก กล้วยน้ำไทยจังหวัดยโสธร เรียก กล้วยส้มและจังหวัดอุบลราชธานี เรียก กล้วยทิพย์ใหญ่กล้วยน้ำว้า ปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ที่จังหวัดแพร่ เรียก กล้วยน้ำว้าเหลืองจังหวัดเชียงราย เรียก กล้วยใต้กล้วยน้ำว้าค่อม มีลักษณะแคระ กลายพันธุ์มาจากกล้วยน้ำว้ากล้วยน้ำว้าขาว เนื้อของผลมีสีขาว กลายพันธุ์มาจากกล้วยน้ำว้ากล้วยน้ำว้าแดง เนื้อของผลมีสีแดง กลายพันธุ์มาจากกล้วยน้ำว้าเช่นกัน บางทีเรียกต่างกัน ที่จังหวัดชัยภูมิ เรียก กล้วยอ่องจังหวัดนครสวรรค์ เรียก กล้วยสุกไสแดงส่วนจังหวัดแพร่ เรียก กล้วยน้ำว้าในออกกล้วยเทพรส ที่จังหวัดเชียงราย เรียก กล้วยทิพย์คุ้มกล้วยพญา มีการปลูกมากในจังหวัดสงขลากล้วยส้ม ที่จังหวัดจันทบุรี เรียก กล้วยหักมุก






การแปรรูปกล้วย

เมื่อปลูกกล้วยกินกันมากขึ้น ผลผลิตกล้วยที่ไม่ได้ขนาดตามที่ต้องการอาจจะเหลือทิ้ง ดังนั้นเพื่อไม่ให้ไร้ประโยชน์ จึงควรนำมาแปรรูป เพื่อให้เก็บได้นานขึ้น อีกทั้งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลผลิตด้วย

๑. การแปรรูปจากกล้วยดิบ



   1. การทำกล้วยอบเนย กล้วยฉาบ หรือ "กล้วยกรอบแก้ว" 

   ใช้กล้วยดิบ เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยหักมุก นำมาฝานบางๆ ตามยาว หรือตามขวาง อาจจะผึ่งลมสักครู่ หรือฝานลงกระทะทันทีก็ได้ และทอดในกระทะที่ใส่น้ำมันท่วม เมื่อชิ้นกล้วยสุกจะลอย ก็ตักขึ้นและซับน้ำมันด้วยกระดาษฟาง จากนั้นอาจนำไปคลุกเนย เรียกว่า กล้วยอบเนย หรือฉาบให้หวานด้วยการนำไปคลุกกับน้ำตาลที่เคี่ยวจนเกือบแห้งในกระทะ เรียกว่า กล้วยฉาบ หรือนำไปคลุกในน้ำเชื่อม แล้วเอาลงทอดอีกครั้งอย่างรวดเร็ว เรียกว่า กล้วยกรอบแก้ว    

  
 การทำกล้วยฉาบ เป็นวิธีการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรที่มีมาแต่โบราณ เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิต กล้วยฉาบเป็นขนมที่มีประโยชน์ที่เกิดขึ้นมาจากภูมิปัญญาของคนไทย










  • วัสดุและอุปกรณ์ในการทำกล้วยฉาบ


1.กล้วยที่แก่จัด แต่ไม่ถึงกับสุก กล้วยที่นิยมนำมาฉาบจะเป็น กล้วยน้ำหว้า
2.น้ำมันสำหรับใช้ทอด
3.น้ำตาลทราย
4.เกลือ
5.เนย
6.ใบเตย




  • วิธีการทำกล้วยฉาบ


1.นำกล้วยมาปอกเปลือกแล้วนำไปแช่น้ำเกลือไว้เพื่อไม่ให้กล้วยมีสีดำ






2.ฝานกล้วยเป็นแผ่นบางๆตามยาวหรือตามขวางก็ได้แล้วแต่ว่าจะชอบแบบไหน





3.นำกล้วยลงไปทอดในน้ำมันที่ผสมเนยและใบเตย หมั่นกลับกล้วยบ่อยๆให้สุกสม่ำเสมอกัน จนกรอบ 

ไม่ต้องให้กล้วยเหลืองจากกระทะ คือเอาให้พอกรอบ แล้วพอตั้งไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน กล้วยจะเหลืองเอง

4.ตั้งกระทะ ใส่น้ำ 3 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำตาล 1/2 ถ้วย ใส่เกลือเล็กน้อย เคี่ยวให้น้ำตาลเหนียวและเหลือง ลดไฟลง

5.นำกล้วยที่ทอดเสร็จไปคลุกเคล้ากับน้ำตาล ระวังอย่าทำแรงเพราะกล้วยจะแตก








2. แป้งกล้วย






นำกล้วยดิบมานึ่งให้สุก ปอกเปลือก หั่น และอบให้แห้ง แล้วบดให้ละเอียดเป็นแป้ง ใช้ทำขนมกล้วยและบัวลอย หรือผสมกับแป้งเค้กใช้ทำคุกกี้ได้ ทำให้มีกลิ่นหอมของกล้วย


๒. การแปรรูปจากกล้วยสุก


1. กล้วยตาก (banana figs)

นำกล้วยที่สุกงอมมาปอกเปลือก และนำไปตากแดด ๑ - ๒ แดด จากนั้นมาคลึงเพื่อให้กล้วยนุ่ม แล้วนำไปตากอีก ๕ - ๖ แดด หรือจนกว่ากล้วยจะแห้งตามต้องการ (ในทุกๆ วันที่เก็บ ให้นำกล้วยทั้งหมดมารวมกัน น้ำหวานจากกล้วยจะออกมาทุกวัน และกล้วยจะฉ่ำ แล้วนำไปตากแดด) ระวังอย่าให้แมลงวันตอม ส่วนการตากอาจใช้แสงอาทิตย์ หรือเตาอบขนาดใหญ่ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์หรือไฟฟ้า











  • ส่วนผสมกล้วยตาก

  1. กล้วยน้ำว้าแก่จัด 1 เครือ
  2. เกลือป่น 2 ช้อนโต๊ะ
  3. น้ำ 10 ถ้วย

  • วิธีทำกล้วยตาก

  1. ตัดกล้วยออกเป็นหวี วางเรียงบนใบตอง วางใบตองปิดทับข้างบน ปิดด้วยกระสอบบ่มกล้วยให้สุก
  2. เมื่อกล้วยสุกเหลืองทั่ว ตัดออกจากหวีเป็นลูก เฉือนให้ติดกับลูก หรือตัดให้เข้าเนื้อกล้วยเล็กน้อย ตัดส่วนปลายกล้วยเช่นเดียวกัน
  3. ละลายน้ำเกลือโดยผสมเกลือกับน้ำ ตั้งไฟพอเดือดยกลง
  4. ปอกเปลือกกล้วย วางเรียงบนตะแกรงตากแดด



2.กล้วยกวน

นำกล้วยสุกงอมมายี แล้วเคล้ากับน้ำตาลและกะทิ นำไปกวนในกระทะที่ไม่เป็นสนิม กวนที่ไฟอ่อนๆ จนสุกเหนียว ปั้นเป็นก้อนกลม หรือสี่เหลี่ยม แล้วห่อด้วยกระดาษแก้ว

ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่แปรรูปมาจากกล้วยดิบและกล้วยสุก


  • ส่วนผสม 

              1. กล้วยน้ำว้าสุกงอม                      20            ลูก
              2. น้ำตาลทราย                             1/2           ถ้วย
              3. มะพร้าว                                   500          กรัม 
   



  • วิธีทำ กล้วยกวน

1. ปอกเปลือกกล้วย หั่นเป็นชิ้นเล็ก ยีให้ละเอียด

2. คั้นมะพร้าวให้ได้กะทิ 2 ถ้วย หางกะทิ 2 ถ้วย (ใช้น้ำกะทิสำเร็จรูปกระป๋องก็ได้)

3. นำหัวกะทิ ตั้ืงไฟอ่อนเคี่ยวให้เป็นน้ำมัน พักไว้

4. ผสมหางกะทิ กับน้ำตาล ตั้งไฟกลางให้น้ำตาลละลาย ยกลง กรองด้วยผ้าขาวบาง เทลงในกระทะทอง
ใส่กล้วย ยกขึ้นตั้งไฟอ่อน กวนด้วยพายไม้ จนมีลักษณะข้นเหนียว

5. ใส่น้ำมันกะทิ ในข้อที่ 3 ทีละน้อย กวนให้เข้ากันจนกล้วยแห้งเหนียวพอปั้นได้ ยกลง
ทิ้งไว้ให้อุ่น คลึงเป็นแท่งยาว ตัดเป็นท่อน ๆ ห่อด้วยกระดาษแก้ว เก็บใส่ขวดโหล ไว้รับประทานได้นาน





ขนมที่ทำจากกล้วย


1.ขนมเค้กกล้วยหอม


เค้กกล้วยหอม



วัตถุดิบที่ต้องเตรียม

  • แป้งอเนกประสงค์ 250 กรัม
  • เกลือ 1/2 ช้อนชา
  • ผงฟู 2 ช้อนชา
  • เนยเค็ม 227 กรัม (1ก้อน)อุณภูมิห้อง
  • น้ำตาลทราย 365 กรัม
  • ไข่ไก่ 4 ฟอง (อุณภูมิห้อง)
  • กล้วยหอมสุกงอม 450 กรัม ประมาณ 5 ลูก
  • วนิลา 1 ช้อนชา


วิธีทำ

  1. ร่อน แป้งผงฟู และเกลือ รวมกันแล้วพักไว้ก่อน
  2. กล้วยหอม บดละเอียด
  3. เนยเค็มเซทตัวอยู่ที่อุณภูมิห้อง หั่นเตา แล้วตีประมาณ 5 นาที
  4. ใส่น้ำตาลทรายทีละช้อน ค่อยตีไปทีละนิด จนน้ำตาลหมด จากนั้นใส่ไข่ที่อยู่ในอุณภูมิห้อง ตอกใส่ไปทีละฟองสลับกับการตีให้เข้ากัน ทำจนครบ 5 ฟอง
  5. แล้วกล้วยหอมที่เราบดผสมด้วยวนิลาใส่ลงไปลงไปตล่อมด้วยไม้พายให้เข้ากัน จากนั้นใส่แป้งที่ร่อนเตรียมไว้ลงไป (ควรแบ่งแป้งออกเป็น 3 ส่วน แล้วค่อยใส่ไปที่ละส่วน) ค่อยตล่อมให้เข้ากัน
  6. ตักใส่พิมพ์กระดาษขนาดพอดีคำ
  7. วอร์มเตาอบไว้ก่อน 180 องศา แล้วเข้า 15 นาที 






2.ขนมกล้วยไข่เชื่อม






  • ส่วนผสมขนมหวาน กล้วยไข่เชื่อม 

กล้วยไข่ห่ามๆ 12 ลูก
น้ำตาลทราย 2 1/2 ถ้วยตวง
น้ำ 1/2 ถ้วยตวง
ใบเตย (ผูกเป็นปม) 2 ใบ
ปูนแดง 1 ช้อนชา
น้ำ (ผสมกับปูนแดง) 3 ถ้วยตวง
ส่วนผสมกะทิราดหน้า
มะพร้าวขูด 200 กรัม
(คั้นให้ได้กะทิ 3/4 ถ้วยตวง)
เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
แป้งข้าวเจ้า 1 ช้อนชา


  • วิธีทำขนมหวาน กล้วยไข่เชื่อม

1. ผสมปูนแดงกับน้ำ พักไว้ให้ตกตะกอน ตักน้ำส่วนที่ใสสำหรับแช่กล้วย
2. ปอกเปลือกกล้วยนำแช่ลงในน้ำปูนใสประมาณ 30 นาที แล้วนำมาล้างน้ำเปล่าอีกครั้ง พักไว้ให้สะเด็ดน้ำ
3. ใส่น้ำตาลทราย นำ และใบเตยลงในภาชนะคนให้เข้ากัน ไม่ปิดฝาภาชนะ นำเข้าเตาไมโครเวฟ ใช้เวลาประมาณ 10 นาที ระดับความร้อน HIGH (เปิดคนทุกๆ 5 นาที) หมดเวลา นำออกมากรองด้วยผ้าขาวบาง
4. ใส่กล้วยไข่ในน้ำเชื่อมจำนวน 6 ลูก ไม่ปิดฝาภาชนะ นำเข้าเตาไมโครเวฟ ใช้เวลาประมาณ 2-3 นาที ระดับความร้อน MEDIUM HIGH นำออกมากลับด้าน ต่อเวลาประมาณ 2 นาที ระดับความร้อน MEDIUM HIGH สังเกตให้กล้วยไข่สุกและใส
5. เมื่อจะเชื่อมครั้งต่อไปให้เคี่ยวน้ำเชื่อม โดยปิดฝาภาชนะ นำเข้าเตาไมโครเวฟ ใช้เวลาประมาณ 2 นาที ระดับความร้อน HIGH แล้วจึงเชื่อมกล้วยต่อ (เหมือนวิธีทำในข้อ 4)
วิธีทำส่วนผสมกะทิราดหน้า
ผสมกะทิ เหลือป่น และแป้งเข้าเจ้าเข้าด้วยกัน ไม่ปิดฝาภาชนะ นำเข้าเตาไมโครเวฟ ใช้เวลาประมาณ 2 นาที ระดับความร้อน HIGH (เปิดคนทุกๆ 30 วินาที)
เทคนิคการทำกล้วยไข่เชื่อม
เวลาในการเชื่อมกล้วยขึ้นอยู่กับความสุกหรือห่ามของกล้วยไข่ ถ้ากล้วยไข่ห่ามมากต้องใช้เวลาในการเชื่อมเพิ่มขึ้น


3.กล้วยบวชชี










  •  สิ่งที่ต้องเตรียม

          กล้วยน้ำว้าห่าม 8 ลูก

          หางกะทิ 500 มิลลิลิตร

          ใบเตย 2 ใบ

          น้ำตาลปี๊บ 4 ช้อนโต๊ะ

          น้ำตาลทราย 4 ช้อนโต๊ะ

          เกลือปริมาณเล็กน้อย

          หัวกะทิ 400 มิลลิลิตร



  •  วิธีทำ
          1. ต้มกล้วยน้ำในน้ำเดือด นานประมาณ 3-5 นาที จนผิวกล้วยเริ่มแตกออก ตักขึ้น ปอกเปลือกแล้วหั่นเป็นชิ้นพอดีคำ

          2. ต้มหางกะทิกับใบเตยจนเดือด ใส่กล้วยตามด้วยน้ำตาลปี๊บ น้ำตาลทราย และเกลือ ต้มจนเดือดอีกครั้ง ใส่หัวกะทิลงไป ต้มจนเดือดประมาณ 3 นาที ตักใส่ถ้วย พร้อมรับประทาน



4.ขนมกล้วย



 ขนมกล้วย ขนมไทยทำง่าย สมชื่อกล้วย ๆ





  •  ส่วนประกอบ

           กล้วยน้ำว้าสุก (บดละเอียด) 500 กรัม

           น้ำตาลทราย 100 กรัม

           เกลือป่น 1 ช้อนชา

            แป้งข้าวเจ้า 100 กรัม

           แป้งมันสำปะหลัง 5 ช้อนโต๊ะ

           หัวกะทิ 200 มิลลิลิตร

           มะพร้าวทึนทึกขูดฝอย

           ใบตองสำหรับห่อ (ถ้าไม่มีใบตองสามารถใช้ถ้วยตะไลได้)

  •  วิธีทำ

          1. ผสมกล้วยน้ำว้ากับน้ำตาลทราย เกลือป่น แป้งข้าวเจ้า แป้งมันสำปะหลัง หัวกะทิ และมะพร้าวขูด คนผสมให้เข้ากันดี 

          2. ตักส่วนผสมขนมกล้วยลงบนใบตอง แผ่บาง ๆ หรือจะทำเป็นทรงกรวยห่อเป็นทรงให้สวยงาม หรือตักใส่ถ้วยตะไล วางเรียงบนลังถึง นึ่งประมาณ 20 นาที จนสุก นำออกจากลังถึง พร้อมรับประทาน



5.ขนมข้าวต้มมัดไส้กล้วย







  • วัตถุดิบข้าวต้มมัดไส้กล้วย
1. ข้าวเหนียวเขี้ยวงูใหญ่ 500 ก. (แช่น้ำ 5 ชม.)
2. กะทิ 200 มล.
3. เกลือ 1 ชช.
4. น้ำตาลทราย 200 ก.
5. ถั่วดำ 150 ก. (แช่น้ำ 1 คืน)
6. กล้วยน้ำว้าสุก 5 ลูก
7. ตอก 1 มัด (แช่น้ำ 1 คืน)
8. ใบตองลนไฟ ขนาดกว้าง 4x8 นิ้ว 20 แผ่น
9. ใบตองลนไฟ ขนาดกว้าง 8x10 นิ้ว 20 แผ่น

  • วิธีทำข้าวต้มมัดไส้กล้วย


1. นำข้าวเหนียว กะทิ เกลือ น้ำตาลทราย ถั่ว ไปผัดรวมกันในกระทะทองเหลืองจนน้ำกะทิเริ่มแห้ง พักไว้ให้เย็น
2. ผ่ากล้วยเป็นสี่ส่วนเตรียมไว้ นำใบตองใบเล็กวางบนใบใหญ่ (หันด้านนวลชนกัน) ตักข้าววางลงไป 1 ชต. เกลี่ยให้ข้าวกระจายออกและวางกล้วยลงไป 1 ชิ้น ตักข้าวลงไปอีก 1 ชต. ห่อใบตองให้มิดชิด ทำแบบเดิมอีกชิ้นหนึ่ง
3. นำข้าวที่ห่อแล้วทั้งสองชิ้นประกบเข้าหากัน มัดให้แน่นด้วยตอก นำไปนึ่งด้วยไฟแรง 30 นาที พักไว้ให้เย็น


ประโยชน์ของกล้วย


กล้วย (Banana) ที่นิยมรับประทานกันในบ้านเรานั้นมีอยู่หลากหลายสานพันธุ์ เช่น กล้วยหอมกล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ กล้วยหักมุม เป็นต้น แต่สำหรับต่างชาติแล้วกล้วยที่นิยมมากที่สุดคงหนีไม่พ้นกล้วยหอม เนื่องจากกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ ถ้าพูดถึงเรื่องประโยชน์แล้วมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งระบุชัดเจนว่าการรับประทานกล้วยแค่ 2 ลูกจะช่วยเพิ่มพลังงานในร่างกายได้เทียบเท่ากับการออกกำลังกายถึง 90 นาทีเลยทีเดียว! เพราะกล้วยอุดมไปด้วยน้ำตาลจากธรรมชาติรวมถึง 3 ชนิดเลยทีเดียวนั่นก็คือ ซูโครส กลูโคส และฟรุคโทส ซึ่งช่วยเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกายนั่นเอง
นอกจากนี้แล้วในกล้วยยังอุดมไปด้วยเส้นใยและกากอาหาร และยังวิตามินและแร่ธาตุนาๆชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ธาตุเหล็ก ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุโพแทสเซียม ธาตุแมกนีเซียม คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามินเอ วิตามินบี6 วิตามินบี12 และ วิตามินซี เป็นต้น
คุณรู้หรือไม่ผลไม้อย่าง แอปเปิ้ลที่ขึ้นชื่อเรื่องความมีประโยชน์ก็ยังแพ้กล้วย เพราะว่าในกล้วยนั้นมีวิตามินและแร่ธาตุต่างๆมากกว่าแอปเปิ้ลถึง 2 เท่า โดยมีคาร์โบไฮเดรตมากกว่า 2 เท่า มีฟอสฟอรัสมากกว่า 3 เท่า มีโปรตีนมากกว่า 4 เท่า วิตามินเอและธาตุเหล็กมากกว่า 5 เท่าด้วยกัน!! โดยการกินกล้วยจะให้ดีที่สุดคือกินตอนเช้าเพื่อจะช่วยให้ระบบต่างๆในร่างกายทำงานได้ดี และการกินกล้วยทุกวันวันละ 2 ผลถือเป็นสิ่งที่ดีและวิเศษมากๆ จะกล้วยหอม กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้าก็ได้ทั้งนั้น


ประโยชน์ของการกินกล้วย

  1. ช่วยลดกลิ่นปากได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ควรทานหลังตื่นนอนตอนเช้าทันทีแล้วค่อยแปรงฟัน และถ้าเป็นกล้วยน้ำว้าจะยิ่งช่วยลดกลิ่นปากได้ดีขึ้น
  2. กล้วย ช่วยควบคุมอุณหภูมิในร่างกายให้เป็นปกติ
  3. กล้วยอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆที่สำคัญและจำเป็นต่อร่างกาย เช่น ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม คาโบไฮเดรต โปรตีน วิตามินเอ วิตามินบี6 วิตามินบี12 และวิตามินซี
  4. ช่วยเพิ่มพลังให้แก่สมองของคุณ เพราะมีสารที่ช่วยทำให้มีเกิดสมาธิและมีการตื่นตัวตลอดเวลา
  5. กล้วยก็มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระเหมือนกันนะ ที่ช่วยในการชะลอความแก่ตัวของร่างกายนั่นเอง
  6. กล้วยมีส่วนช่วยในการลดความอ้วนได้ เพราะช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือกช่วยให้ลดอาการอยากกินของจุกจิกลงได้พอสมควร
  7. สำหรับผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับ กล้วยคือคำตออบสำหรับคุณ
  8. อาการหงุดหงิดยามเช้า กล้วยก็ช่วยคุณได้เหมือนกัน
  9. ช่วยลดอาการหงุดหงิดของผู้หญิงในช่วงประจำเดือนมา
  10. ช่วยลดอาการเมาค้างได้ดีระดับหนึ่ง เพราะจะช่วยชดเชยน้ำตาลที่ร่างกายขาดไปในขณะดื่มแอลกอฮอล์
  11. เป็นตัวช่วยสำหรับผู้ที่ต้องการอยากเลิกสูบบุหรี่ เพราะในกล้วยมีวิตามินเอ ซี บี6 บี12 โพรแทสเซียม และแมกนีเซียมที่ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้นจากการเลิกนิโคติน
  12. ช่วยรักษาอาการท้องผูก เพราะกล้วยมีเส้นใยและกากอาหารซึ่งจะช่วยให้ขับถ่ายได้อย่างปกติ
  13. ช่วยบรรเทาอาการของริดสีดวงทวาร หรือในขณะขับถ่ายจะมีเลือดออกมา
  14. ช่วยลดอาการเสียดท้อง ลดกรดในกระเพาะ การกินกล้วยจะทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายจากอาการนี้ได้
  15. ช่วยรักษาโรคโลหิตจางได้ เพราะในกล้วยมีธาตุเหล็กสูง ซึ่งจะช่วยในการผลิตฮีโมโกลบินในเลือด เพื่อรักษาภาวะโลหิตจางหรือผู้ที่อยู่ในสภาวะขาดกำลัง
  16. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง หรือเส้นเลือดฝอยแตกได้
  17. ช่วยลดโอกาสเสี่ยงของการเกิดเส้นโลหิตแตกได้
  18. สำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะหรือกระเพาะอักเสบ การรับประทานกล้วยบ่อยๆ ถือเป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะกล้วยมีสภาพเป็นกลาง มีความนิ่มและเส้นใยสูง
  19. ช่วยรักษาแผลในลำไส้เรื้อรัง เพราะกล้วยมีสภาพเป็นกลาง ทำให้ไม่เกิดการละคายเคืองในผนังลำไส้และกระเพาะอาหารด้วย
  20. ช่วยรักษาโรคซึมเศร้า ภาวะความเครียด เพราะกล้วยมีโปรตีนชิดหนึ่งที่เรียกว่า Tryptophan ซึ่งช่วยในการผลิตสาร Serotonin หรือ ฮอร์โมนแห่งความสุข จึงส่วนช่วยในการผ่อนคลายอารมณ์ได้ดียิ่งขึ้น
  21. ช่วยลดอัตราการเกิดตะคริวบริเวณมือ เท้า และน่องได้
  22. ช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องของมารดาลงได้
  23. กล้วย สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการนิ่วในไตได้ในระดับหนึ่ง

ประโยชน์ของกล้วย

  1. กล้วยก็สามารถนำมาทำเป็นมาส์กหน้าได้เหมือนกันนะ โดยจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิว ช่วยลดความหยาบกร้านบนผิว วิธีง่ายๆ เพียงแค่ใช้กล้วยสุกหนึ่งผลมาบดให้ละเอียด แล้วเติมน้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ จากนั้นคลุกให้เข้ากัน แล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก
  2. เปลือกกล้วยสามารถแก้ผื่นคันที่เกิดจากยุงกัดได้ ด้วยการลองใช้ด้านในของเปลือกกล้วยทาบริเวณที่ถูกยุงกัด อาการคันจะลดลงไปได้ระดับหนึ่ง
  3. เปลือกด้านในของกล้วยช่วยในการรักษาโรคหูดบนผิวหนังได้ โดยใช้เปลือกกล้วยวางปดลงบริเวณหูดแล้วใช้เทปแปะไว้
  4. เปลือกกล้วยด้านในช่วยฆ่าเชื้อ ที่เกิดจากบาดแผลได้เหมือนกัน แต่ยังไงก็ตามเมื่อแปะที่บาดแผลแล้วก็ควรจะเปลี่ยนเปลือกใหม่ทุกๆ 2 ชั่วโมงด้วย
  5. สรรพคุณกล้วย ยางกล้วยสามารถใช้ในการห้ามเลือดได้
  6. ก้านใบตอง ช่วยลดอาการบวมของฝี แต่ก่อนใช้ต้องตำให้แหลกเสียก่อน
  7. ใบอ่อนของกล้วย หากนำไปอังไฟให้นิ่ม ก็ใช้ประคบแก้อาหารเคล็ดขัดยอกได้
  8. หัวปลี นำมารับประทานเพื่อช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และบำรุงและขับน้ำนมสำหรับมารดาหลังคลอดบุตร
  9. ผลดิบนำมาบดให้ละเอียดทั้งลูกผสมกับน้ำสะอาด รับประทานเพื่อแก้อาการท้องเสีย
  10. ใบตอง อีกส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์กันอย่างมาก เช่น กระทง ห่อขนม ห่ออาหาร ทำบายศรี บวงสรวงต่างๆ


คุณค่าทางโภชนาการของกล้วย ต่อ 100 กรัม

  • ประโยชน์ของกล้วยพลังงาน 89 กิโลแคลอรี่
  • คาร์โบไฮเดรต 22.84 กรัม
  • น้ำตาล 12.23 กรัม
  • เส้นใย 2.6 กรัม
  • ไขมัน 0.33 กรัม
  • โปรตีน 1.09 กรัม
  • วิตามินบี1 0.031 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามินบี2 0.073 มิลลิกรัม 6%
  • วิตามินบี3 0.665 มิลลิกรัม 4%
  • วิตามินบี5 0.334 มิลลิกรัม 7%
  • วิตามินบี6 0.4 มิลลิกรัม 31%
  • วิตามินบี9 20 ไมโครกรัม 5%
  • โคลีน 9.8 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินซี 8.7 มิลลิกรัม 10%
  • กล้วยธาตุเหล็ก 0.26 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุแมกนีเซียม 27 มิลลิกรัม 8%
  • ธาตุแมงกานีส 0.27 มิลลิกรัม 13%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม 3%
  • โพแทสเซียม 358 มิลลิกรัม 8%
  • ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม 0%
  • ธาตุสังกะสี 0.15 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุฟลูออไรด์ 2.2 ไมโครกรัม



ขอบคุณข้อมูลจาก


1.http://frynn.com/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2/#


2.http://cooking.kapook.com/view69081.html




3.http://www.thaifoodcookbook.net/thaifoodrecipes_th/thaidessert/thaidessert_kluaykaichuem.html

4.http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book.php?book=30&chap=6&page=t30-6-infodetail10.html

5.http://varajaae.blogspot.com/p/blog-page_10.html


จัดทำโดย


1.ด.ช.ณัฐพงศ์     อยู่แสง  เลขที่  5    ชั้น   ม.2/4

2.ด.ช.สุกฤษฎี      เรืองเวช เลขที่ 15   ชั้น   ม.2/4


Title Yousang